9 ระบบปฏิบัติการสมาร์ททีวียอดนิยม 2025 | เปรียบเทียบจุดเด่น-จุดด้อย

9 ระบบปฏิบัติการสมาร์ททีวียอดนิยม 2025 | เปรียบเทียบจุดเด่น-จุดด้อย

เผยแพร่: 22 พ.ค. 2568 โดย: รุ่งเรือง หวนระลึก

 

9 ระบบปฏิบัติการสมาร์ททีวียอดนิยม 2025

 เปรียบเทียบจุดเด่น | จุดด้อย

       เลือกสมาร์ททีวีทั้งที ไม่ใช่แค่ดูความคมชัดหรือขนาดหน้าจอเท่านั้น! ระบบปฏิบัติการ (Smart TV OS) คือหัวใจหลักที่จะกำหนดประสบการณ์การใช้งานของคุณ ว่าจะราบรื่นหรือติดขัดทุกครั้งที่กดรีโมท บทความนี้จะพาคุณรู้จักกับ 9 ระบบปฏิบัติการสมาร์ททีวียอดนิยมในปี 2025 พร้อมสรุปข้อดี ข้อเสีย และคำแนะนำว่าแบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

       ระบบปฏิบัติการสมาร์ททีวี (Smart TV Operating System) คือซอฟต์แวร์หลักที่ทำให้ทีวีสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ติดตั้งแอป และทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งได้ ระบบนี้เปรียบเสมือนสมองของทีวี ซึ่งแต่ละแบรนด์จะเลือกใช้ระบบที่แตกต่างกัน

เปรียบเทียบ 9 ระบบปฏิบัติการสมาร์ททีวียอดนิยมในปี 2025

1. ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทีวี (Android TV OS) เปิดตัวในปี 2014 แบรนด์ทีวีที่ใช้ได้แก่ Sony, TCL, Sharp, Philips รวมถึงสมาร์ททีวีแบรนด์ใหม่ๆ อีกหลายแบรนด์ มีจุดเด่น คือ รองรับแอปพลิเคชันได้มากมาย รองรับ Google Play Store, Google Assistant มีจุดด้อย คือ บางรุ่นทำงานช้า และมีโฆษณารบกวน เหมาะกับสำหรับผู้ใช้ที่ชอบความยืดหยุ่นและเคยใช้ Android บนมือถือ

2. ระบบปฏิบัติการกูเกิลทีวี (Google TV OS) เปิดตัวในปี 2020 แบรนด์ที่ใช้: Sony, TCL, Sharp, Chromecast รวมถึงสมาร์ททีวีแบรนด์ใหม่ๆ อีกหลายแบรนด์ จุดเด่น คือ อินเทอร์เฟซสวย ใช้งานง่าย แนะนำคอนเทนต์ได้ดี ลงแอปพลิเคชันได้จำนวนมาก จุดด้อย คือ ยังมีแอปพลิเคชันบางตัวยังไม่รองรับ เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่อยากได้สมาร์ททีวีที่ฉลาด

3. ระบบปฏิบัติการเว็บโอเอส แอลจี (WebOS LG) เปิดตัวในปี 2014 เป็นระบบปฏิบัติการของแบรนด์ทีวี LG (ในปี 2010 HP ซื้อกิจการ Palm ทำให้ได้สิทธิ์ webOS มา และในปี 2013 LG ได้ซื้อสิทธิ์ WebOS จาก HPเพื่อนำมาใช้กับสมาร์ททีวี) จุดเด่น คือ ระบบลื่น ใช้งานง่าย รีโมท Magic Remote ใช้งานได้ดี มีแอปพลิเคชันหลักครบ จุดด้อย คือ จำนวนแอปพลิเคชันน้อยกว่า Android TV OS และ Google TV ลงแอปจากภายนอกเองไม่ได้ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานพื้นฐาน รีโมทของแอลจีออกแบบให้ผู้สูงอายุใช้งานได้ง่าย

4. ระบบปฏิบัติการ ไทเซนโอเอส ซัมซุง (Tizen OS Samsung) เปิดตัวในปี 2015 เป็นระบบปฏิบัติการของแบรนด์ทีวี Samsung จุดเด่น คือ เสถียร ใช้งานเร็ว ฟีเจอร์ครบ รองรับ SmartThings มีแอปพลิเคชันหลักครบ จุดด้อย คือ จำนวนแอปพลิเคชันน้อยกว่า Android TV OS และ Google TV ลงแอปจากภายนอกเองไม่ได้ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานพื้นฐาน

5. ระบบปฏิบัติการ โรคุทีวีโอเอส (Roku OS) เปิดตัวในปี 2014 แบรนด์ที่ใช้ได้แก่ TCL, Hisense, Roku มีจุดเด่น คือ ใช้งานง่าย แอปหลักมีครบ ราคาคุ้มค่า จุดด้อย คือ ไม่รองรับภาษาไทย และแอปไทยมีน้อย เหมาะสำหรับผู้ใช้ในอเมริกา

6. ระบบปฏิบัติการ ไฟร์ทีวีโอเอส (Fire TV OS) เปิดตัวในปี 2014 แบรนด์ที่ใช้ได้แก่ Amazon, Toshiba, Insignia จุดเด่น คือ รองรับ Alexa สั่งงานด้วยเสียงดีเยี่ยม จุดด้อย คือ ผูกกับระบบ Amazon มากเกินไป เหมาะสำหรับ ผู้ใช้ Amazon Echo หรือสมาชิก Prime

7. ระบบปฏิบัติการ วิด้าโอเอส (VIDAA OS) เปิดตัวในปี 2014 แบรนด์ที่ใช้ได้แก่ Hisense จุดเด่น คือ ใช้งานได้เร็ว อินเทอร์เฟซง่าย สะดวก ไม่ซับซ้อน จุดด้อย คือ แอปพลิเคชันน้อยกว่า Android, WebOS หรือ Tizen ผู้ใช้งานพื้นฐาน

8. ระบบปฏิบัติการ มายโฮมสกรีน (My Home Screen OS) เปิดตัวในปี 2015 แบรนด์ที่ใช้ได้แก่ Panasonic จุดเด่น คือ อินเทอร์เฟซใช้งานง่าย จุดด้อย คือ แอปพลิเคชันน้อย ไม่มีจุดเด่นด้านอื่น เหมาะสำหรับ ผู้ใช้งานพื้นฐาน

9. ระบบปฏิบัติการ สมาร์ทแคสต์ (SmartCast OS) เปิดตัวในปี 2016 แบรนด์ที่ใช้ คือ Vizio จุดเด่น คือ Cast จากมือถือได้ดี รองรับ Chromecast จุดด้อย คือ ไม่รองรับภาษาไทย และไม่มีจำหน่ายในไทย เหมาะสำหรับ ผู้ใช้ในสหรัฐที่ควบคุมทีวีผ่านมือถือ

คำแนะนำในการเลือกสมาร์ททีวีที่เหมาะกับคุณ

       - ถ้าคุณต้องการติดตั้งแอปหลากหลาย ให้เลือก Android TV หรือ                 Google  TV
       - ถ้าคุณชอบระบบลื่น ใช้งานง่าย ให้เลือก WebOS หรือ Tizen
       - ถ้าคุณอยู่ในอเมริกาและอยากได้ทีวีราคาประหยัด ให้เลือก Roku TV OS            หรือ Fire TV OS
       - ถ้าคุณอยู่ในอเมริกาและเป็นผู้สูงอายุ ให้เลือก My Home Screen ใช้                งาน ไม่งงต่อการใช้งาน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้