หลักการส่งและรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน พื้นฐานสำคัญของการออกแบบระบบทีวีรวมศูนย์ดิจิทัล MATV และ Hotel IPTV

หลักการส่งและรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน พื้นฐานสำคัญของการออกแบบระบบทีวีรวมศูนย์ดิจิทัล MATV และ Hotel IPTV

เผยแพร่: 26 พ.ค. 2568 โดย: รุ่งเรือง หวนระลึก

หลักการส่งและรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน พื้นฐานสำคัญของการออกแบบระบบทีวี

รวมศูนย์ดิจิทัล MATV และ Hotel IPTV

ระบบ MATV SMATV CATV และ Hotel IPTV ตอนที่ 1

        คุณรู้หรือไม่ว่าเคล็ดลับการออกแบบระบบทีวีรวมศูนย์ MATV SMATV รวมถึงระบบ Hotel IPTV ในโรงแรม โรงพยาบาล คอนโด อพาร์ทเมนท์ ที่ราคาถูกสุด ประสิทธิภาพสูงสุด ดูแลง่ายที่สุด และกินไฟน้อยที่สุด มีอยู่จริง และสามารถรับสัญญาณทีวีไทยพื้นฐานได้ถึง +20 ช่อง 

      วิธีการรับสัญญาณช่องรายการทีวีไทยที่ดีที่สุด ง่ายที่สุด และปัญหาน้อยที่สุด คือ การออกแบบระบบทีวีรวมศูนย์ โดยรับสัญญาณทีวีไทยจากแผงเสาอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน  บทความนี้จะอธิบายตั้งแต่การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินผ่านเสาอากาศส่งจากสถานีส่ง ไปจนถึงการรับชมทางโทรทัศน์ เพื่อเป็นแนวคิดในการออกแบบหรือวางระบบทีวีรวมศูนย์ใน โรงแรม รีสอร์ท โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ หอพัก สำนักงาน หน่วยงานราชการ

 

ทำไมต้องเข้าใจหลักการส่งและรับสัญญาณทีวีภาคพื้นดิน?
        การออกแบบระบบทีวีรวมศูนย์ (MATV) หรือระบบ IPTV สำหรับโรงแรมและอาคารขนาดใหญ่ ไม่ได้เริ่มต้นที่จุดกระจายสัญญาณ แต่เริ่มต้นจากจุดรับสัญญาณต้นทางที่มีคุณภาพ เพราะหากระบบต้นน้ำไม่ดี ถึงปลายน้ำจะใช้เทคโนโลยีดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถส่งมอบภาพและเสียงที่คมชัดได้

 

วิธีที่ดีที่สุดในการรับสัญญาณทีวีดิจิทัลไทย

       การรับสัญญาณผ่าน "แผงเสาอากาศทีวีภาคพื้นดิน" คือวิธีที่เสถียร ประหยัด และมีปัญหาน้อยที่สุด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบระบบ MATV และ IPTV เพื่อแจกจ่ายสัญญาณไปยังหลายจุด เช่น โรงแรม คอนโด หอพัก โรงพยาบาล และสำนักงานต่าง ๆ

 

ขั้นตอนการส่งและรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน

       การรับชมโทรทัศน์หรือฟังวิทยุที่บ้าน ดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แค่เปิดเครื่องก็ได้ยินเสียงหรือเห็นภาพทันที แต่เบื้องหลังนั้น มีขั้นตอนสำคัญหลายอย่างที่ทำให้ข้อมูลจากสถานีส่ง เดินทางมาถึงเราได้สำเร็จ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า "คลื่นความถี่วิทยุ" หรือ RF (Radio Frequency) ซึ่งเป็นพาหะนำพาข้อมูลเสียงและภาพผ่านอากาศ มาดูกันว่ากระบวนการนี้ทำงานอย่างไร

 

ขั้นตอนที่ 1: สถานีส่งสัญญาณผลิตรายการและแปลงสัญญาณ

       เมื่อสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุจัดเตรียมหรือผลิตเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว เพลง หรือรายการบันเทิง สิ่งเหล่านี้จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณภาพและเสียง เพื่อนำไปผสมกับคลื่นความถี่วิทยุ และส่งต่อไปยังอุปกรณ์ขยายสัญญาณ จากนั้นคลื่นนี้จะถูกขยายกำลังให้แรงขึ้นเพื่อเตรียมส่งออกไปยังผู้ชมและผู้ฟัง  (ที่ต้องนำสัญญาณภาพและเสียง ไปผสมกับคลื่นความถี่วิทยุเพื่อให้การส่งกระจายสัญญาณออกไปได้ไกล ส่งได้หลายช่องรายการ โดยแต่ละช่องรายการใช้ความถี่ไม่ทับซ้อนกัน)

 

ขั้นตอนที่ 2: การส่งกระจายสัญญาณทีวีผ่านเสาอากาศส่ง

    สัญญาณภาพและเสียงที่ถูกผสมกับคลื่นความถี่วิทยุและขยายกำลังให้แรงขึ้น จะถูกส่งผ่านสายสัญญาณไปยังเสาอากาศส่งเพื่อส่งกระจายสัญญาณ    (เสาอากาศส่งมักตั้งอยู่บนยอดอาคารสูงหรือภูเขา เพื่อให้กระจายคลื่นไปได้ไกลและครอบคลุมพื้นที่กว้าง)  คลื่นความถี่วิทยุที่มีสัญญาณภาพและเสียงผสมอยู่จะล่องลอยผ่านอากาศและค่อยๆ ลดระดับความแรงของสัญญาณลงตามระยะทางที่ไกลออกไป การกระจายสัญญาณเพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จะมีสถานีทวนสัญญาณในการส่งกระจายสัญญาณหลายจุดเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยได้มากที่สุด ท่านยังสามารถดูตำแหน่งเสาส่งได้คลิ๊กที่นี่

 

ขั้นตอนที่ 3: การรับสัญญาณทีวีผ่านเสาอากาศรับ

        จากจุดรับสัญญาณอยู่ในรัศมีพื้นที่ของการส่งกระจายสัญญาณ เราสามารถตั้งเสาอากาศเดินสายต่อเข้าทีวีและจูนทีวีรับชมรายการจากทีวีได้ทันที ในพื้นที่ที่ระดับสัญญาณต่ำ สามารถตั้งเสาอากาศชนิดที่รับสัญญาณได้มากขึ้น หรือตั้งเสาอากาศให้สูงขึ้น เพื่อการรับสัญญาณที่ดีขึ้น สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ควรเลือกเสาอากาศที่สามารถตัดสัญญาณรบกวนจากสัญญาณโทรศัพท์มือถือ LTE/4G/5G ได้ เนื่องความถี่เหล่านี้เดิมทีเดียว คือ ความถี่ที่ใช้ในการส่งสัญญาณทีวี ซึ่งมีโอกาสเข้ามารบกวนระบบทีวีรวมศูนย์ของเราได้มากโดยเฉพาะจุดติดตั้งเสาอากาศที่อบู่ใกล้สถานีทวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการซ่อมแซมหรือการบำรุงรักษาในระยะยาว

 

ขั้นตอนที่ 4: เครื่องรับทีวีหรือวิทยุแปลงสัญญาณที่รับจากคลื่น RF กลับเป็นภาพและเสียง 

      หากเครื่องรับโทรทัศน์รับคลื่นความถี่วิทยุที่มีสัญญาณภาพและเสียงผสมอยู่ในระดับความแรงที่เหมาะสม (สัญญาณไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป) โทรทัศน์จะแยกสัญญาณภาพและเสียงที่ผสมอยู่กับคลื่นความถี่วิทยุ ให้กลับมาเป็นภาพและเสียงที่เราเห็นและได้ยินได้ชัดเจนบนหน้าจอทีวี เช่น เสียงผู้ประกาศข่าว ภาพละคร หรือบทเพลงจากรายการวิทยุ หากเป็นระบบทีวีอนาล็อกแบบเก่าระดับความแรงของสัญญาณที่เหมาะสม (ความแรงประมาณ 65-75dB) จะให้ภาพคมชัดที่สุดแบบอนาล็อก กรณีสัญญาณต่ำภาพจะเป็นเม็ดเหมือนหิมะ (Snow) จะทำให้มีสัญญาณแรงเกินไปภาพจะเป็นเส้นหรือเป็นแถบซ้อนภาพ (Saturate) หากเป็นระบบทีวีดิจิทัลในปัจจุบัน ระดับความแรงของสัญญาณที่เหมาะสมแม้ระดับความแรงแตกต่างกัน ก็จะได้ภาพและเสียงคมชัดเหมือนกันทุกจุด หากสัญญาณต่ำเกินไปหรือแรงเกินไปจะทำให้ภาพกระตุกจนถึงรับสัญญาณไม่ได้เลย 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้