เผยแพร่: 21 พ.ค. 2568 โดย: รุ่งเรือง หวนระลึก
1. ทีวีจอแก้ว CRT พ.ศ. 2493–2543 (ค.ศ. 1950–2000) เป็นทีวีระบบอนาล็อกยุคแรก เป็นทีวีจอแก้ว ใช้หลอดภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) ทำงานโดยใช้หลักการยิงลำแสงอิเล็กตรอนผ่านหลอดภาพเพื่อสร้างภาพบนจอ มีข้อดี คือ มีความทนทานสูง ราคาย่อมเยา แต่ข้อจำกัด คือ ขนาดใหญ่ ใช้พื้นที่มาก ความละเอียดต่ำ ทีวีจอแก้วเป็นเทคโนโลยีทีวีที่ครองตลาดยาวนานกว่า 50 ปี
2. ทีวีจอไตรนิตรอน (Trinitron) พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) Trinitron คือเทคโนโลยีจอภาพเฉพาะของ Sony ใช้โครงสร้างหลอดภาพแบบใหม่ที่ให้ความคมชัด สีสด และความสว่างมากกว่าจอแก้วทั่วไป ได้รับความนิยมสูงจนกลายเป็น "มาตรฐานคุณภาพ" ทีวีจอแบน CRT ในเวลาต่อมา ทีวี Sony Trinitron ถือว่าเป็นทีวีจอแก้วระบบอนาล็อกรุ่นพรีเมียมที่ได้รับความนิยมสูงในช่วง พ.ศ. 2510–2540
3. ทีวีจอแบน CRT พ.ศ. 2540–2545 (ค.ศ. 1997–2002) ผู้ผลิตเริ่มพัฒนา CRT ที่เป็น “จอแบน” แต่ปรับหน้าจอให้แบนราบ สวยงาม ดีไซน์ดูทันสมัยยิ่งขึ้น แต่ยังเป็นเทคโนโลยี CRT แบบเดิมอยู่ เป็นทีวีระบบอนาล็อกจอตู้แบบจอแบนยุคก่อนที่เทคโนโลยีจอแบนจะผลิตออกมา
4. พลาสม่าทีวี (Plasma TV) พ.ศ. 2543–2555 (ค.ศ. 2000–2012) พลาสม่าทีวี เป็นทีวีระบบอนาล็อกจอแบนยุคแรก ที่ให้ภาพคมชัดและขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับโรงแรมหรือห้องรับแขก มีข้อดี คือ สีดำลึก มุมมองกว้าง แต่มีข้อเสีย คือ เปลืองไฟ เสี่ยงเกิด Burn-in ที่หน้าจอหากเปิดแสงเข้มที่หน้าจอตำแหน่งเดิมเป็นเวลานาน หลังจากปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ความนิยมในพลาสม่าทีวีก็ค่อยๆ ลดลงไป
5. แอลซีดีทีวี (LCD TV) พ.ศ. 2549–2555 (ค.ศ. 2006–2012) แอลซีดีทีวีเป็นทีวีจอแบนที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Plasma ใช้เทคโนโลยีจอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display) และ ใช้หลอดไฟ CCFL เป็นแหล่งกำเนิดแสง (Backlight) จุดเด่น คือ จอบาง มีน้ำหนักเบา ประหยัดไฟกว่า เป็นทีวีที่ได้รับความนิยมสูง และเป็นรากฐานให้กับ LED TV ในเวลาต่อมา
ช่วงเวลาของ แอลซีดีทีวี ประเทศไทยเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านจาก “ทีวีอนาล็อก” ไปเป็น “ทีวีอนาล็อกแบบสมาร์ททีวี” โดยในช่วงพ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ผู้ผลิต แอลซีดีทีวี ยังคงผลิตเป็น “ทีวีอนาล็อก” ที่มีภาครับสัญญาณอนาล็อกทีวี ในเวลาต่อมาหลังจากปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ประเทศไทยเริ่มมีระบบอินเตอร์เน็ตที่เสถียร ทำให้ผู้ผลิตแอลซีดีทีวี ผลิตทีวีรุ่นใหม่เป็น “ทีวีอนาล็อกแบบสมาร์ททีวี” ที่รองรับทั้งสัญญาณระบบทีวีอนาล็อก และ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ได้ในตัวเอง
6. ทีวี 3มิติ (3D TV) พ.ศ. 2553–2556 (ค.ศ. 2010–2013) ในช่วงที่แอลซีดีทีวีกำลังได้รับความนิยม ทีวี 3 มิติ 3D TV เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นโดยหวังให้ผู้ชมสัมผัสประสบการณ์ประสบการณ์เสมือนจริงแบบโรงหนัง 3 มิติ แต่เป็นได้เพียงเทรนด์ชั่วคราวที่เน้น สุดท้ายไม่เป็นที่นิยมเพราะการใช้งานยุ่งยากต้องใส่แว่นในการรับชม และมีคอนเทนต์จำกัด ทำให้ไม่สามารถอยู่ในตลาดได้ยาวนาน
8. สมาร์ททีวี (Smart TV) พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน (ค.ศ. 2007–ปัจจุบัน) สมาร์ททีวี คือ โทรทัศน์ที่มีความสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi หรือสาย LAN แล้วสามารถใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น YouTube, Netflix, LINE TV, Disney+, Viu, Spotify ฯลฯ ได้ในตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริม
สมาร์ททีวี เริ่มปรากฏในตลาดโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ซึ่งอยู่ในยุคของ แอลซีดีทีวี ที่ยังเป็น“ทีวีอนาล็อกแบบสมาร์ททีวี” และ ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ.2014) ในยุคของ แอลอีดีทีวี ก็ยังเป็น “ทีวีอนาล็อกแบบสมาร์ททีวี” เช่นกัน จนกระทั่งหลังปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ.2014) จึงเริ่มเข้าสู่ยุคของ แอลอีดีทีวี ที่เป็น “ทีวีดิจิทัลแบบสมาร์ททีวี”
9. ทีวีดิจิทัล (Digital TV) พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน (ค.ศ. 2014–ปัจจุบัน) ระบบทีวีดิจิทัล มีจุดเด่นกว่า ระบบทีวีอนาล็อก คือ ให้ภาพและเสียงที่คมชัดกว่า รองรับความละเอียดสูงและสัญญาณรบกวนน้อย สามารถรับช่องรายการได้มากขึ้น ใช้คลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับเทคโนโลยีในอนาคต การเปลี่ยนผ่านระบบการแพร่ภาพออกอากาศจากระบบทีวีอนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน แบบ DVB-T2 ในประเทศไทยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2557 ทำให้ผู้ผลิตแอลอีดีทีวีรุ่นใหม่ต้องผลิตเป็น “ทีวีดิจิทัล” ที่รองรับทั้งสัญญาณดิจิทัลทีวีแบบ (DVB-T2) และ สัญญาณทีวีอนาล็อกเดิม และ หลังจากปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ประเทศไทยยุติระบบทีวีอนาล็อก คงไว้เพียงระบบทีวีดิจิทัล เข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลเต็มรูปแบบ ผู้ชมทั้งหมดต้องรับชมรายการทีวีผ่านทีวีดิจิทัล หรือใช้กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลต่อกับทีวีรุ่นที่ไม่รองรับ
อย่างไรก็ตามหลังจากปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยมีความเสถียรและมีราคาไม่สูง ทำให้ผู้ผลิตทีวีดิจิทัล ทั้งแอลซีดีทีวีและแอลอีดีทีวี มักผลิตทีวีเป็น “ทีวีดิจิทัลแบบสมาร์ททีวี”ที่รองรับทั้งสัญญาณระบบทีวีดิจิทัล และ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ได้ในตัวเอง